ความสัมพันธ์ทั่วไประหว่างไทยกับออสเตรเลีย โอเชียเนีย
ความสัมพันธ์ทั่วไป
ไทยกับออสเตรเลียสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2495 โดยมีสถาน เอกอัครราชทูต ณ กรุงแคนเบอร์รา มีเขตอาณาดูแลสาธารณรัฐหมู่เกาะฟิจิ สาธารณรัฐวานูอาตูและหมู่เกาะโซโลมอน ความสัมพันธ์ของประเทศทั้งสองเป็นไปอย่างราบรื่นและฉันท์มิตร และที่มีความโดดเด่นมากคือ ด้านการเมือง ความมั่นคง และการทหาร มีการส่งเสริมความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี รวมถึงการแลกเปลี่ยนการเยือนของผู้นำระดับสูงระหว่างกันเรื่อยมา ปัจจุบัน นางสาวสุจิตรา หิรัญพฤกษ์ ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต ณ กรุงแคนเบอร์รา และ Mr. Miles Kupa ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย
นอกจากนี้ ไทยมีสถานกงสุลใหญ่ ณ นครซิดนีย์ (รัฐนิวเซาท์เวลส์) โดยมีนายสุรพันธุ์ บุญยมานพ ดำรงตำแหน่งกงสุลใหญ่ และมีสถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ประจำออสเตรเลีย 4 แห่ง ได้แก่ นครเพิร์ท (รัฐออสเตรเลียตะวันตก) นครเอดิเหลด (รัฐออสเตรเลียใต้) นครบริสเบน (รัฐควีนส์แลนด์) และ นครเมลเบิร์น (รัฐวิคตอเรีย) และกำลังพิจารณาแต่งตั้งกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ประจำนครโฮบาร์ต (รัฐแทสมาเนีย) เพิ่มอีกแห่ง รวมทั้งมีสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศและสำนักงานการท่องเที่ยวประจำที่นครซิดนีย์ ออสเตรเลียมีสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี (เกาะสมุย) และ อยู่ระหว่างการดำเนินการแต่งตั้งกงสุลกิตติมศักดิ์ประจำจังหวัดเชียงใหม่
เศรษฐกิจและการค้า
การค้าระหว่างไทย - ออสเตรเลีย
1 การค้ารวม ในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา (2542-2546) การค้ารวมมีมูลค่าเฉลี่ย 2,931.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2546 การค้าสองฝ่ายมีมูลค่า 3,728.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว เพิ่มขึ้นจากปี 2545 ร้อยละ 18.92 โดยไทยนำเข้า 1,568 ดอลลาร์สหรัฐ และไทยส่งออก 2,160.2 ดอลลาร์สหรัฐ ไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้า 592.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ การค้าระหว่างไทยกับออสเตรเลียมีสัดส่วนร้อยละ 2.40 ของมูลค่าการค้าของไทยกับโลก โดยออสเตรเลียเป็นคู่ค้าอันดับที่ 11 ของไทย และไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 13 ของออสเตรเลีย และในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2547 การค้าสองฝ่ายมีมูลค่า 1,744.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.2 เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยไทย ส่งออกไปออสเตรเลีย มูลค่า 936.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้า 808.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้าแล้ว 127.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
2 การส่งออก ในปี 2542-2546 การส่งออกมีมูลค่าเฉลี่ย 1,623.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นจนถึงปี 2543 และลดลงในปี 2544 และขยายตัวอีกครั้งจนถึงปี 2545 ซึ่งการส่งออกมีมูลค่า 2,160.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2545 ร้อยละ 31.61 ในช่วง 5 เดือนแรก(ม.ค.-พ.ค.) ของปี 2547 ไทยส่งออกสินค้าไปออสเตรเลีย มูลค่า 936 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 13.9 เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันของปีก่อน
สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ รถยนต์/อุปกรณ์เเละส่วนประกอบ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เครื่องปรับอากาศเเละส่วนประกอบ เหล็ก/เหล็กกล้าเเละผลิตภัณฑ์ อัญมณีและเครื่องประดับผลิตภัณฑ์พลาสติก เม็ดพลาสติก ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องคอมพิวเตอร์/อุปกรณ์เเละส่วนประกอบ น้ำมันดิบ เป็นต้น
3 การนำเข้า ในปี 2542-2546 การนำเข้ามีมูลค่าเฉลี่ย 1,308.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2546 การนำเข้ามีมูลค่า 1,568.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2545 ร้อยละ 4.97 ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2547 ไทยนำเข้าสินค้าจากออสเตรเลีย มูลค่า 808.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 38.81 เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันของปีก่อน
สินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ สินเเร่โลหะอื่นๆ
เเละเศษโลหะ เส้นใยใช้ในการทอ ธัญพืชและธัญพืชสำเร็จรูป เคมีภัณฑ์ เหล็กและเหล็กกล้า หนังดิบเเละหนังฟอก ผลิตภัณฑ์นม เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรม ผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก เป็นต้น
4 การจัดทำความตกลงการค้าเสรี (Thailand-Australia Freee Trade Agreement – TAFTA)
- ไทยและออสเตรเลียได้ลงนามความตกลงการค้าเสรี (Thailand-Australia Free Trade Agreement : TAFTA) เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2547 ระหว่างการเยือนออสเตรเลียของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี วันที่ 4 – 6 กรกฎาคม 2547
ประโยชน์ที่ไทยได้รับ
- การค้าระหว่างไทยกับออสเตรเลียจะขยายตัวมากขึ้น ทั้งนี้ ในปี 2546 การค้าระหว่างไทยกับออสเตรเลียมีมูลค่า 3,728 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 2.4 ของมูลค่าการค้ารวมของไทย เป็นมูลค่าการส่งออกไปออสเตรเลีย 2,160 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้าจากออสเตรเลีย 1,568 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าสำคัญที่ไทยจะได้รับประโยชน์และส่งออกได้เพิ่มขึ้นในวันที่ความตกลง มีผลบังคับใช้ ได้แก่ ผักและผลไม้สด (ซึ่งออสเตรเลียประกาศอนุญาตให้นำเข้าลิ้นจี่ และลำใยสดจากไทยก่อนที่ความตกลงจะมีผลบังคับใช้) รถปิกอัพและรถยนต์ขนาดเล็ก เคมีภัณฑ์พลาสติก อาหารสำเร็จรูป
เครื่องใช้ไฟฟ้า และสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป คิดเป็นมูลค่าการส่งออกไปออสเตรเลียในปี 2546 ประมาณ 1,378 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- ผลจากการที่ออสเตรเลียเปิดตลาดการค้าบริการและการลงทุนให้ไทย ทำให้ ธุรกิจไทยที่มีศักยภาพในการส่งออก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นธุรกิจ SME อาทิ ธุรกิจซ่อมรถยนต์ สถาบันสอนภาษาไทย สถาบันสอนทำอาหาร ร้านอาหารไทย และธุรกิจผลิตสินค้าทุกประเภท สามารถเข้าไปจัดตั้งและประกอบธุรกิจในออสเตรเลียได้มากขึ้น และการที่ออสเตรเลียผ่อนปรนเงื่อนไขการเข้าไปทำงาน ทำให้คนไทยสามารถเข้าไปทำงานได้สะดวกขึ้นเป็นการสร้างรายได้และนำเงินตราต่างประเทศ เข้าประเทศได้มากขึ้น
- สำหรับการเปิดตลาดการค้าบริการและการลงทุนของไทย จะเป็นประโยชน์ ต่อไทย เนื่องจากเป็นการเปิดตลาดในธุรกิจที่มีขนาดใหญ่ ใช้เงินลงทุนสูง ซึ่งส่วนใหญ่ไทยต้องการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศเพื่อเอื้อต่อนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางการลงทุนและการท่องเที่ยวในภูมิภาค
- ในระยะยาว ความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศจะมีมากขึ้น ความต้องการลงทุนของออสเตรเลียในไทยจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากไทยเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญของออสเตรเลียในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในปี 2546 มีมูลค่าการลงทุน 394 ล้านบาท และในช่วง ไตรมาสแรกของปี 2547 มีโครงการลงทุนออสเตรเลียที่ได้รับอนุมัติแล้วทั้งสิ้น 1,228.5 ล้านบาท
สินค้าสำคัญที่ออสเตรเลียจะได้ประโยชน์
- สินค้าสำคัญที่ออสเตรเลียจะได้รับประโยชน์และส่งออกได้เพิ่มขึ้นในวันที่ความ ตกลงมีผลบังคับใช้จากการเปิดตลาดของไทย ได้แก่ พลาสติก เหล็ก ข้าวสาลีและมอลต์ เชื้อเพลิง ทองแดง นมและผลิตภัณฑ์นม รถยนต์ขนาดใหญ่ อาหารสัตว์ สังกะสี ไวน์ และเนื้อวัว คิดเป็นมูลค่า ที่ไทยนำเข้าจากออสเตรเลียในปี 2546 ประมาณ 616 ล้านดอลลาร์สหรัฐภาคอุตสาหกรรมไทยที่อาจได้รับผลกระทบและจะต้องมีการปรับตัว
- อุตสาหกรรมโคเนื้อ โคนม และผลิตภัณฑ์นม ซึ่งมีเกษตรกรรายย่อยเป็นจำนวนมากมีระบบการผลิตที่ยังไม่มีประสิทธิภาพในการแข่งขันกับสินค้าประเภทเดียวกันที่นำเข้าจากออสเตรเลีย จึงต้องมีการปรับตัวให้ได้ภายใน 15-20 ปี
6 การลงทุนและการท่องเที่ยว
- ออสเตรเลียได้เข้ามาลงทุนในประเทศไทย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 1.8 ของมูลค่าการลงทุนรวมจากต่างประเทศมูลค่า 41,902.4 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในภาคบริการ ส่วนด้านการท่องเที่ยวในปี 2546 มีนักท่องเที่ยวออสเตรเลียเดินทางมาประเทศไทยจำนวน 291,872 คน คิดเป็นร้อยละ 2.92 ของนักท่องเที่ยวต่างประเทศทั้งหมดที่เดินทางมาประเทศไทย ซึ่งลดลงถึงร้อยละ 20.86 โดยนักท่องเที่ยวออสเตรเลียมีวันพักเฉลี่ย 11.28 วันและมีการใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนต่อวันประมาณ 3,486.61 บาท นักท่องเที่ยวไทยเดินทางไปออสเตรเลีย จำนวน 62,312 คน ลดลง ร้อยละ 4.57
ความร่วมมือด้านการทหาร
ไทยกับออสเตรเลียเคยมีความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดในช่วงที่อยู่ภายใต้สนธิสัญญา SEATO แต่หลังจากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปทำให้ความร่วมมือลดลง ไทยและออสเตรเลียจึงได้จัดทำความตกลงร่วมมือทางทหารทวิภาคีตั้งแต่ปี 2515 โดยออสเตรเลียได้ให้การสนับสนุนงบประมาณเพื่อดำเนินการ ตามโครงการความร่วมมือของกองทัพภายใต้ Defence Cooperation Program (DCP) ในปี 2545-2546 ออสเตรเลียได้ให้เงินสนับสนุนแก่ไทย 5.3 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย
ความร่วมมือทางทหารที่สำคัญ มีดังนี้
1. ด้านการฝึกร่วม มีการฝึกร่วมกันทั้งสามเหล่าทัพ โดยมีการฝึกต่าง ๆ ที่สำคัญ คือ
1.1 Temple Jade & Chapel Gold เป็นการแลกเปลี่ยนกองร้อยทหารราบไปฝึกร่วม
1.2 Night Panther การฝึกผสมระหว่างหน่วยรบพิเศษของกองทัพบก
1.3 Day Panther การฝึกในการต่อต้านการก่อการร้าย
1.4 TAANOK INSII การฝึกการเฝ้าตรวจทางทะเลระหว่างกองทัพเรือ
1.5 AUSTHAI การฝึกผสมระหว่างกำลังทางเรือ และกำลังทางอากาศ
1.6 KAKADU การฝึกผสมทางเรือโดยเน้นการติดต่อสื่อสารและการปฏิบัติงานร่วม
1.7 Thai Boomerang การฝึกปฏิบัติการทางอากาศระหว่างกองทัพอากาศ
1.8 Wyren Sun การฝึกปฏิบัติการค้นหา ช่วยชีวิตและกู้ตัวประกันระหว่างกองทัพอากาศ
1.9 Pirab Jabiru การฝึกการรักษาสันติภาพระหว่างกองทัพ
2. ในแต่ละปีออสเตรเลียให้ทุนแก่นายทหารไปศึกษาในหลักสูตรทางทหารในออสเตรเลีย ปีละประมาณ 100 นาย อาทิ หลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรและหลักสูตรฝ่ายเสนาธิการ นอกจากนี้ฝ่ายไทยยังได้ส่งนักเรียนนายร้อย นักเรียนนายเรือ และนักเรียนนายเรืออากาศ เข้ารับการศึกษา ณ โรงเรียนนายร้อยรวมเหล่าออสเตรเลีย (ADFA) และโรงเรียนนายร้อยทหารบกออสเตรเลีย
(Duntroon)เป็นประจำทุกปี
3. ออสเตรเลียได้ให้ความช่วยเหลือในด้านการปรับปรุงโครงสร้างอัตรากำลังและระบบการบริหารกองทัพไทย
4. การจัดทำโครงการความร่วมมือด้านการวิจัยร่วมกันระหว่างกองทัพไทยและออสเตรเลีย เช่นโครงการ Ship to Shore, HF Communication และ Ammunition Propellant Surveillance นอกจากนี้ ยังมีโครงการให้ความช่วยเหลือในการปรับปรุงระบบ IT ของกระทรวงกลาโหมไทย การรวบรวมข้อมูลในการบันทึกพิกัดจากดาวเทียม GPS และการตรวจสอบความมั่นคงของโครงสร้างอากาศยาน
5. ความร่วมมือในการส่งกำลังบำรุงให้แก่ทหารไทยในระหว่างการปฏิบัติการในติมอร์เลสเต นอกจากนี้ ยังอยู่ระหว่างการหารือในเรื่องความร่วมมือด้านการจัดหายุทโธปกรณ์
6. มีการลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการสนับสนุนด้านการส่งกำลังบำรุง ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งประเทศออสเตรเลีย ฉบับใหม่ เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2547
ความร่วมมือด้านวิชาการและความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนา
ความร่วมมือด้านวิชาการและการพัฒนาเริ่มมาจากการให้ความร่วมมือตามแผนโคลัมโบ และพัฒนาเป็นการให้แบบทวิภาคีจนถึงปัจจุบัน โดยได้มีการลงนามความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการพัฒนาเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2532 การให้ความร่วมมือทางวิชาการของรัฐบาลออสเตรเลียแก่ไทยส่วนใหญ่กระจายอยู่ในสาขาเกษตร การศึกษา สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
ในปี 2544 รัฐบาลออสเตรเลียได้ริเริ่มโครงการความร่วมมือภาครัฐไทย - ออสเตรเลีย (Thailand-Australia Government Sector Linkages Program - TAGSLP) ซึ่งเป็นโครงการในกรอบความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่าง AusAID กับรัฐบาลไทย มีเป้าหมายที่จะช่วยปรับปรุงองค์กรและ เสริมสร้างขีดความสามารถขององค์กรภาครัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาที่มีภารกิจสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของออสเตรเลียต่อไทย ความช่วยเหลือที่ออสเตรเลียจัดสรรให้กับไทยในช่วงงบประมาณ ปี 2545 - 2546 มีมูลค่าทั้งสิ้น 1 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย ในปีงบประมาณ 2546-47 รัฐบาลออสเตรเลียจัดสรรความช่วยเหลือทวิภาคีแก่ไทย จำนวน 7 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย ลดลงจากปีก่อน 5 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย โดยความช่วยเหลือดังกล่าว มุ่งเน้นโครงการด้านการเพิ่มขีดความสามารถของหน่วยงานไทย การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การสนับสนุนแนวทางการวางนโยบายเศรษฐกิจและสังคม และความร่วมมือไตรภาคี และยังให้ ความช่วยเหลืออีก 8.1 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลียสำหรับการดำเนินกิจกรรมในกรอบเอปคและอาเซียน โดยผ่าน AusAID ซึ่งมีจำนวนลดลงจากปีก่อน 1.4 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย ทั้งนี้ ออสเตรเลียเป็นประเทศให้ความช่วยเหลือไทยมากเป็นอันดับ 9
ความร่วมมือทางด้านการเกษตร
ไทยและออสเตรเลียมีความร่วมมือด้านการพัฒนาการเกษตรอยู่หลายโครงการ และมีการประชุมเกี่ยวกับความร่วมมือดังกล่าว ทั้งในด้านการค้าและวิชาการ ที่สำคัญคือ การประชุมคณะทำงานร่วม ทางวิชาการ ด้านกักกันโรคและตรวจสอบอาหาร โดยการประชุมครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 3 - 4 มีนาคม 2546 ที่จังหวัดเชียงใหม่ได้เปลี่ยนชื่อกรอบการประชุมดังกล่าวเป็นคณะทำงานด้านการเกษตร
นอกจากนั้น มีความร่วมมือทางด้านวิชาการ อาทิ ความร่วมมือในด้านการทำวิจัยและพัฒนาระหว่างAustralian Center for International Agricultural Research กับสถาบันต่างๆ ด้านการเกษตรของไทย และความร่วมมือในเรื่องระบบวิเคราะห์ความเสี่ยงการนำเข้าพืชผลซึ่ง Australian Quarantine and Inspection Service ให้ต่อกรมวิชาการเกษตร นอกจากนี้ ความตกลง TAFTA ได้กำหนดกรอบสำหรับความร่วมมือด้านสุขอนามัย โดยมีคณะกรรมการร่วมที่จัดตั้งขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหา ตลอดจนพัฒนาและเสริมสร้าง ขีดความสามารถของไทยด้วย
ความตกลงสำคัญๆกับไทย
- ความตกลงทางวัฒนธรรม (ธันวาคม 2517)
- ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการพัฒนา (กุมภาพันธ์ 2532)
- ความตกลงเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีจากเงินได้ (สิงหาคม 2532)
- ความตกลงริเริ่มโครงการยุวทูตออสเตรเลีย (กันยายน 2540)
- แถลงการณ์ร่วมระดับรัฐมนตรีว่าด้วยความร่วมมือในการต่อต้านการเข้าเมือง โดยผิดกฎหมาย และการลักลอบค้ามนุษย์ตลอดจนการลักลอบขนผู้ย้ายถิ่นฐาน (กรกฎาคม 2544)
- ความตกลงว่าด้วยการโอนตัวผู้กระทำผิดและความร่วมมือในการบังคับให้เป็นไปตาม คำพิพากษาในคดีอาญา (กรกฎาคม 2544)
- บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการต่อต้านการก่อการร้ายระหว่างประเทศ(ตุลาคม
2545)
- บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติและการพัฒนาความ ร่วมมือของตำรวจ (มิถุนายน 2546)
- บันทึกความเข้าใจว่าด้วยโครงการป้องกันการลักลอบค้ามนุษย์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ธันวาคม 2546)
- บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการสนับสนุนด้านการส่งกำลังบำรุง (มกราคม 2547)
- ความตกลงการค้าเสรี (Thailand-Australia Free Trade Agreement - TAFTA) (กรกฎาคม 2547)
- ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคี (กรกฎาคม 2547)
- บันทึกความเข้าใจว่าด้วยโครงการแลกเปลี่ยนเยาวชนภายใต้ Work and Holiday Visas (กรกฎาคม 2547)
- บันทึกบันความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (กรกฎาคม 2547)
- บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการศึกษา (กรกฎาคม 2547)
- แถลงการณ์ร่วมว่าด้วยความร่วมมือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (กรกฎาคม 2547)
การแลกเปลี่ยนการเยือน
ระดับพระราชวงศ์[/size]
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ เยือน ออสเตรเลียอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 26 สิงหาคม – 12 กันยายน 2505
- สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ เยือนออสเตรเลีย อย่างเป็นทางการ 5 ครั้ง ในระหว่างวันที่ 8 -17 ธันวาคม 2528 วันที่ 7 - 11 เมษายน 2530 วันที่ 20 กันยายน – 4 ตุลาคม 2531 วันที่ 19 - 28 เมษายน 2542 และวันที่ 18 - 24 สิงหาคม 2546
- สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยือนออสเตรเลียอย่าง เป็นทางการระหว่างวันที่ 16 - 26 ตุลาคม 2527 และเสด็จฯ เยือนนครซิดนีย์ เพื่อทรงเป็นองค์ประธานในการแสดงคอนเสิร์ตของคุณพลอยไพลิน เจนเซ่น พร้อมด้วยทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญาฯ ระว่างวันที่ 18 - 20 กรกฎาคม 2543
- สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์อัครราชกุมารี เสด็จเยือนออสเตรเลียอย่างเป็นทางการ 2 ครั้ง ระหว่างวันที่ 4 - 7 ธันวาคม 2533 และระหว่างวันที่ 23 สิงหาคม -19 กันยายน 2535 และได้เสด็จเยือนออสเตรเลียอีก 2 ครั้ง ในระหว่างวันที่ 12 –19 มิถุนายน 2542 และวันที่ 14 – 23 ธันวาคม 2542
ระดับผู้นำรัฐบาลไทย
- พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เยือนอย่างเป็นทางการระหว่าง วันที่ 31 สิงหาคม – 3 กันยายน 2524
- พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ เยือนอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 29 สิงหาคม – 3 กันยายน 2532
- นายชวน หลีกภัย เยือนอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 3 - 9 กุมภาพันธ์ 2538
- พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตร เยือนอย่างเป็นทางการ 2 ครั้ง ระหว่างวันที่ 29 - 31 พฤษภาคม 2545 และ 4 – 6 กรกฎาคม 2547
- พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ เยือนรัฐออสเตรเลียตะวันตก เพื่อบรรยายพิเศษในหัวข้อ “The Role of the Monarchy in Thailand” ณ University Western Australia ระหว่างวันที่ 24 - 27 พฤศจิกายน 2545
ระดับผู้นำรัฐบาลออสเตรเลีย
- นายกรัฐมนตรี Bob Hawke ปี 2532
- นายกรัฐมนตรี Paul Keating ปี 2537
- นายกรัฐมนตรี John Howard เยือนเมื่อเดือนเมษายน 2541 แวะผ่านไทยเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2545 และเข้าร่วมการประชุมผู้นำ APEC ที่กรุงเทพ ฯ ระหว่างวันที่ 20 – 21 ตุลาคม 2546
แหล่งข้อมูล : http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=2185.0
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น